วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Framework Management Tool Box :13.HRM

Framework Management Tool Box : HRM
Framework Management Tool Box : HRM
ด้าน Organizing

HRM ย่อมาจาก Human Resource Management หมายถึง การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสถานประกอบการ เกี่ยวกับการวางแผน การกำหนดคุณลักษณะ และคุณสมบัติของบุคคลในองค์กร
ในปัจจุบันมักจะได้ยินคำว่า HRD ซึ่งมีความหมายความแตกต่างกับ HRM   คือ HRD  ย่อมาจากคำว่า    Human  Resource  Development ซึ่งหมายถึง  การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์   โดยการเพิ่มพูนคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวมนุษย์  ด้วยกลวิธีต่าง ๆ เช่น  การฝึกอบรม  การฝึกปฏิบัติการ  การศึกษาดูงาน  ฯลฯ    ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง หรือเรียกว่าเป็นเพียงส่วนย่อยของ  HRM  เท่านั้น

หน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์  (HRM)   มีดังนี้

                 1.  กำหนดกลยุทธ์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์   (HRM Strategy)
                 2.  วางแผนเกี่ยวกับกำลังคน หรือ การวางแผนทรัพยากรมนุษย์   (HR Planning)
              3.  สรรหา  คัดเลือก  บรรจุแต่งตั้งบุคคล   ( Recruitment + Selection  and  Placement )  ถือว่าเป็นกระบวนการจัดหาบุคคลเข้ามาในองค์การ  ( Procurement )
                 4.  การฝึกอบรมและการพัฒนา (Human Resource Training and Development: HRD)
                 5.  ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร (Performance Appraisal)
                 6.  จัดการบริหารค่าตอบแทน สวัสดิการและผลประโยชน์ (Compensation, Benefit and Service)
                 7.  ดำเนินการเกี่ยวกับระเบียบวินัย (Discipline)
                 8.  ดูแลด้านสุขภาพและความปลอดภัย (Safety and Health)
                 9.  ส่งเสริมเรื่องแรงงานสัมพันธ์ (Labor Relation)
                 10.  รับผิดชอบดูแลระบบข้อมูล การตรวจสอบ และการวิจัยทรัพยากรมนุษย์
 
เรียบเรียงโดย นาย ทวินรัตน์ โจมฤทธิ์ เลขที่ 21

Framework Management Tool Box :16.Mass Customer












เรียบเรียง โดย นาย ทวินรัตน์ โจมฤทธิ์ เลขที่ 21

Framework Management Tool Box : 17.CRM (Customer Relationship Management)










เรียบเรียงโดย นาย ทวินรัตน์ โจมฤทธิ์ เลขที่ 21

Framework Management Tool Box : 15.Re - engineering











เรียบเรียงโดย นาย ทวินรัตน์ โจมฤทธิ์ เลขที่ 21

Framework Management Tool Box : 14.Team Development










เรียบเรียงโดย นายทวินรัตน์ โจมฤทธิ์ เลชที่ 21

Framework Management Tool Box :12.Core Competency

Core Competency

Core Competency

 

ความหมาย
Core Competency คือ ความสามารถที่องค์กรจะทำได้ดีเพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่ลูกค้า ยากที่คู่แข่งจะเลียนแบบได้และก็สามารพยกระดับได้อย่างกว้างขวาง เพื่อนำไปใช้กับผลผลิตที่หลากหลายของบริษัท มีได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี เทคนิค กระบวนการ การออกแบบและการพัฒนา วัฒนธรรม การตลาด ทรัพยากรบุคคล กระบวนการผลิต ระบบสารสนเทศ หรือแม้กระทั่งความสัมพันธ์กับลูกค้า แล้วแต่องค์กรไหนจะเก่งด้านใด ที่มีการนำมาใช้เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการทำธุรกิจในตลาด สามารถพัฒนาขึ้นเองภายในองค์กรผ่านทางการเรียนรู้และการปฏิบัติ และทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันแบบยั่งยืน
แนวคิดเรื่อง Competency นำมาใช้ในองค์การเพื่อ
1.         เป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากร ตรงตามเป้าหมายที่องค์กรต้องการ (เป็นวัตถุประสงค์หลักของภาควิชาฯ)
2.         เป็นเครื่องมือช่วยเชื่อมโยงกลยุทธ์สู่ขั้นตอนปฏิบัติ
3.         มีเกณฑ์มาตรฐานการวัดผลอย่างเป็นระบบ
4.         เพิ่มประสิทธิภาพในการจำแนกและคัดสรรบุคลากรที่ดีและเหมาะสม
5.         เป็นเกณฑ์ในการวัดจุดแข็งจุดอ่อนขององค์กร
หลักการสำคัญในการบริหาร Core Competency

          การกำหนด Competency นั้น  เพื่อกำหนดคุณสมบัติของบุคลากรที่องค์การจะคัดเลือกเข้ามาทำหน้าที่ในองค์การ   ซึ่ง Competency สามารถจำแนกได้หลายรูปแบบ โดย E.Cripe และ R.Mansfield ได้จำแนกไว้ในหนังสือ The  Value-Added  Employee เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1.ความสามารถในการจัดการตนเอง ได้แก่ ความมั่นใจ  ความคล่องตัว

2.ความสามารถในการจัดการผู้อื่น ได้แก่ ภาวะผู้นำ  การสื่อความหมายและการโน้มน้าว  การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นต้น

3.ความสามารถในการจัดการธุรกิจ ได้แก่ การป้องกันและแก้ปัญหา  การวิเคราะห์  การคิดแบบผู้ชำนาญการ  ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น


การกำหนด Competency ในภาคปฏิบัติ นั้นสามารถจำแนก ได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

          1. Core  Competency คือ Competency ที่เป็นหลักขององค์การนั้น ๆ โดยทุกคนในองค์การต้องมีคุณสมบัติที่เหมือนกัน  เพราะความสามารถและคุณสมบัติที่โดดเด่นเหล่านี้  จะเป็นตัวผลักดันให้องค์การบรรลุความแตกต่างเหนือคู่แข่ง

          2. Technical  Competency คือ Competency ที่กำหนดสำหรับงานในแต่ละด้านหรือตามลักษณะงาน  ซึ่งมีขั้นตอนความสามารถแตกต่างกันไปตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายหรือคาดหวัง   competency ประเภทนี้จะสะท้อนถึงความลึกซึ้งของความสามารถที่บุคลากรต้องมี  ก่อนที่จะได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่

          3. Professional  Competency คือ Competency ที่พนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงานต้องมีและจะแตกต่างกันไปตามสายงาน




องค์ประกอบ Core Competency ประกอบด้วย

1. Natural คือ สิ่งที่ได้มาแต่กำเนิด (Underlying  traits)

2. Acquired คือ ความรู้และทักษะที่ได้รับมาในภายหลัง โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ และไมได้เป็นพรสวรรค์ตามธรรมชาติ

3. Adapting คือ การปรับปรุง  ปรับเปลี่ยน  ปฏิภาณ  หรือความสามารถตามธรรมชาติ และความรู้ทักษะที่ได้รับมา

4. Performing คือ พฤติกรรมที่แสดงออกมา  หรือสังเกตได้  หรือผลผลิตที่ออกมา
 
ที่มา นส ภิรัญญา ดาหล้า
เรียบแรงโดยนายทวินรัตน์โจมฤทธิ์ เลขที่ 21

Framework Management Tool Box : 11.Benchmarking

Benchmarking
Benchmarking
ความหมายของBenchmarking
Benchmarking คือ วิธีการในการวัดและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการและวิธีการปฏิบัติกับองค์การที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า เพื่อนำผลของการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงของตนเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ
หลักการที่สำคัญในการทำ Benchmarking
               คือ การค้นหา Benchmark และวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด หรือ Best Practices นั่นเอง แล้วจึงศึกษาเปรียบเทียบและนำมาประยุกต์ใช้เพื่อทำให้ตนเองดีกว่า



หลักการพื้นฐาน
BM ไม่ใช่การลอกเลียนแบบจากผู้อื่น หรือการไปดูตัวเลขเปรียบเทียบคู่แข่ง แต่ BM เป็นกระบวนการเรียนรู้วิธีการปฏิบัติจากผู้อื่นซึ่งเป็นการกระทำอย่างเปิดเผย  เป็นระบบ และมีจุดประสงค์ไม่ใช่การลอกเลียนแบบ แต่เป็นการนำวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศที่เรียนรู้มาประยุกต์ให้เหมาะสมกับองค์การของตน
แนวทางการทำ BM
  การทำ BM แบบกลุ่ม
  ข้อดี       - ไม่เสียเวลาในการหาคู่เปรียบเทียบ
 - สร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนข้อมูล
     ข้อเสีย               - ไม่สามารถทำตามสิ่งที่ต้องการได้ทุกอย่าง
 - การเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ต้องทำตามที่กลุ่มกำหนด

  การทำ BM แบบเดี่ยว
  ข้อดี       - ควบคุมระยะเวลาได้
 - เลือกหัวข้อที่สนใจจะทำBMได้
     ข้อเสีย               - ใช้เวลานานกว่าแบบกลุ่ม
 - ถ้าเป็นองค์กรเล็กจะหาผู้เปรียบเทียบยาก

ขั้นตอนและกระบวนการทำ BM
ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (Planning)
·       การกำหนดหัวข้อที่จะทำ BM (วิเคราะห์จากมุมมองภายในและภายนอก)
·       การกำหนดองค์การที่จะเปรียบเทียบ
·      การกำหนดวิธีการเก็บข้อมูลและการเก็บข้อมูล
ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis Stage)

ขั้นที่ 3 การบูรณาการ (Integration stage) คือขั้นตอนนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลมาประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบและตั้งเป้าหมายร่วมกัน ประกอบด้วยขั้นตอนย่อยดังนี้
·       สื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
·      การตั้งเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ

ขั้นตอนที่ 4 การปฏิบัติ (Action stage)
·      การจัดทำแผนปฏิบัติการ
·      การนำแผนปฏิบัติและการควบคุม
·      การทบทวนผลการดำเนินงานเทียบกับคู่เปรียบเทียบ
o   บรรลุเป้าหมายหรือยัง
o   Benchmark พัฒนาไปอีกหรือไม่
o   ต้องทบทวนเป้าหมายใหม่หรือไม่
o   สิ่งที่เรียนรู้จาก Benchmarking ครั้งนี้คืออะไร
o  จุดอ่อนที่ต้องปรับปรุงคืออะไร
ที่มา นส ทิพสุดา ศรีปราชญ์วิทยา
เรียบเรียงโดย นาย ทวินรัตน์ โจมฤทธิ์ เลขที่ 21

Framework Management Tool Box : 10. Project management











เรียบเรียงโดย นาย ทวินรัตน์ โจมฤทธิ์ เลขที่21