วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Framework Management Tool Box : 11.Benchmarking

Benchmarking
Benchmarking
ความหมายของBenchmarking
Benchmarking คือ วิธีการในการวัดและเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์ บริการและวิธีการปฏิบัติกับองค์การที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า เพื่อนำผลของการเปรียบเทียบมาใช้ในการปรับปรุงของตนเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ
หลักการที่สำคัญในการทำ Benchmarking
               คือ การค้นหา Benchmark และวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด หรือ Best Practices นั่นเอง แล้วจึงศึกษาเปรียบเทียบและนำมาประยุกต์ใช้เพื่อทำให้ตนเองดีกว่า



หลักการพื้นฐาน
BM ไม่ใช่การลอกเลียนแบบจากผู้อื่น หรือการไปดูตัวเลขเปรียบเทียบคู่แข่ง แต่ BM เป็นกระบวนการเรียนรู้วิธีการปฏิบัติจากผู้อื่นซึ่งเป็นการกระทำอย่างเปิดเผย  เป็นระบบ และมีจุดประสงค์ไม่ใช่การลอกเลียนแบบ แต่เป็นการนำวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศที่เรียนรู้มาประยุกต์ให้เหมาะสมกับองค์การของตน
แนวทางการทำ BM
  การทำ BM แบบกลุ่ม
  ข้อดี       - ไม่เสียเวลาในการหาคู่เปรียบเทียบ
 - สร้างเครือข่ายการแลกเปลี่ยนข้อมูล
     ข้อเสีย               - ไม่สามารถทำตามสิ่งที่ต้องการได้ทุกอย่าง
 - การเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ต้องทำตามที่กลุ่มกำหนด

  การทำ BM แบบเดี่ยว
  ข้อดี       - ควบคุมระยะเวลาได้
 - เลือกหัวข้อที่สนใจจะทำBMได้
     ข้อเสีย               - ใช้เวลานานกว่าแบบกลุ่ม
 - ถ้าเป็นองค์กรเล็กจะหาผู้เปรียบเทียบยาก

ขั้นตอนและกระบวนการทำ BM
ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (Planning)
·       การกำหนดหัวข้อที่จะทำ BM (วิเคราะห์จากมุมมองภายในและภายนอก)
·       การกำหนดองค์การที่จะเปรียบเทียบ
·      การกำหนดวิธีการเก็บข้อมูลและการเก็บข้อมูล
ขั้นตอนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis Stage)

ขั้นที่ 3 การบูรณาการ (Integration stage) คือขั้นตอนนำผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลมาประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบและตั้งเป้าหมายร่วมกัน ประกอบด้วยขั้นตอนย่อยดังนี้
·       สื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ
·      การตั้งเป้าหมายการดำเนินงานขององค์การ

ขั้นตอนที่ 4 การปฏิบัติ (Action stage)
·      การจัดทำแผนปฏิบัติการ
·      การนำแผนปฏิบัติและการควบคุม
·      การทบทวนผลการดำเนินงานเทียบกับคู่เปรียบเทียบ
o   บรรลุเป้าหมายหรือยัง
o   Benchmark พัฒนาไปอีกหรือไม่
o   ต้องทบทวนเป้าหมายใหม่หรือไม่
o   สิ่งที่เรียนรู้จาก Benchmarking ครั้งนี้คืออะไร
o  จุดอ่อนที่ต้องปรับปรุงคืออะไร
ที่มา นส ทิพสุดา ศรีปราชญ์วิทยา
เรียบเรียงโดย นาย ทวินรัตน์ โจมฤทธิ์ เลขที่ 21

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น