วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Framework Management Tool Box :12.Core Competency

Core Competency

Core Competency

 

ความหมาย
Core Competency คือ ความสามารถที่องค์กรจะทำได้ดีเพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่ลูกค้า ยากที่คู่แข่งจะเลียนแบบได้และก็สามารพยกระดับได้อย่างกว้างขวาง เพื่อนำไปใช้กับผลผลิตที่หลากหลายของบริษัท มีได้หลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี เทคนิค กระบวนการ การออกแบบและการพัฒนา วัฒนธรรม การตลาด ทรัพยากรบุคคล กระบวนการผลิต ระบบสารสนเทศ หรือแม้กระทั่งความสัมพันธ์กับลูกค้า แล้วแต่องค์กรไหนจะเก่งด้านใด ที่มีการนำมาใช้เพื่อให้เกิดความได้เปรียบในการทำธุรกิจในตลาด สามารถพัฒนาขึ้นเองภายในองค์กรผ่านทางการเรียนรู้และการปฏิบัติ และทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขันแบบยั่งยืน
แนวคิดเรื่อง Competency นำมาใช้ในองค์การเพื่อ
1.         เป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากร ตรงตามเป้าหมายที่องค์กรต้องการ (เป็นวัตถุประสงค์หลักของภาควิชาฯ)
2.         เป็นเครื่องมือช่วยเชื่อมโยงกลยุทธ์สู่ขั้นตอนปฏิบัติ
3.         มีเกณฑ์มาตรฐานการวัดผลอย่างเป็นระบบ
4.         เพิ่มประสิทธิภาพในการจำแนกและคัดสรรบุคลากรที่ดีและเหมาะสม
5.         เป็นเกณฑ์ในการวัดจุดแข็งจุดอ่อนขององค์กร
หลักการสำคัญในการบริหาร Core Competency

          การกำหนด Competency นั้น  เพื่อกำหนดคุณสมบัติของบุคลากรที่องค์การจะคัดเลือกเข้ามาทำหน้าที่ในองค์การ   ซึ่ง Competency สามารถจำแนกได้หลายรูปแบบ โดย E.Cripe และ R.Mansfield ได้จำแนกไว้ในหนังสือ The  Value-Added  Employee เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

1.ความสามารถในการจัดการตนเอง ได้แก่ ความมั่นใจ  ความคล่องตัว

2.ความสามารถในการจัดการผู้อื่น ได้แก่ ภาวะผู้นำ  การสื่อความหมายและการโน้มน้าว  การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล  การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าเป็นต้น

3.ความสามารถในการจัดการธุรกิจ ได้แก่ การป้องกันและแก้ปัญหา  การวิเคราะห์  การคิดแบบผู้ชำนาญการ  ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น


การกำหนด Competency ในภาคปฏิบัติ นั้นสามารถจำแนก ได้เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

          1. Core  Competency คือ Competency ที่เป็นหลักขององค์การนั้น ๆ โดยทุกคนในองค์การต้องมีคุณสมบัติที่เหมือนกัน  เพราะความสามารถและคุณสมบัติที่โดดเด่นเหล่านี้  จะเป็นตัวผลักดันให้องค์การบรรลุความแตกต่างเหนือคู่แข่ง

          2. Technical  Competency คือ Competency ที่กำหนดสำหรับงานในแต่ละด้านหรือตามลักษณะงาน  ซึ่งมีขั้นตอนความสามารถแตกต่างกันไปตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายหรือคาดหวัง   competency ประเภทนี้จะสะท้อนถึงความลึกซึ้งของความสามารถที่บุคลากรต้องมี  ก่อนที่จะได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่

          3. Professional  Competency คือ Competency ที่พนักงานในแต่ละระดับหรือตำแหน่งงานต้องมีและจะแตกต่างกันไปตามสายงาน




องค์ประกอบ Core Competency ประกอบด้วย

1. Natural คือ สิ่งที่ได้มาแต่กำเนิด (Underlying  traits)

2. Acquired คือ ความรู้และทักษะที่ได้รับมาในภายหลัง โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ และไมได้เป็นพรสวรรค์ตามธรรมชาติ

3. Adapting คือ การปรับปรุง  ปรับเปลี่ยน  ปฏิภาณ  หรือความสามารถตามธรรมชาติ และความรู้ทักษะที่ได้รับมา

4. Performing คือ พฤติกรรมที่แสดงออกมา  หรือสังเกตได้  หรือผลผลิตที่ออกมา
 
ที่มา นส ภิรัญญา ดาหล้า
เรียบแรงโดยนายทวินรัตน์โจมฤทธิ์ เลขที่ 21

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น